วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นิทาน..นิทาน

อัญชลิตา สุวรรณะชฎ

นิทาน หรือ fable or tale ในภาษาอังกฤษ เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด อาจเป็นการเขียนจากจินตนาการก็ได้ ส่วนคำว่า นิทาน ในภาษาบาลี (อรรถกถาพระไตรปิฎก) จะหมายถึงเรื่องที่เคยมีอยู่จริงเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องแต่งขึ้นแต่ประการใด เป็นการกล่าวถึงเรื่องต้นเหตุย้อนหลังไปนานมาก จนบางอย่างที่เคยมีในยุคนั้นๆ ไม่ปรากฏให้คนในยุคนี้ได้พบเห็นอีกแล้ว
ถ้าอธิบายด้วยแนวคิดหลังสมัยใหม่ว่า นิทาน เป็น นิทานซึ่งบางครั้งไม่สามารถสืบทราบตัวผู้ประพันธ์ได้ ไม่ใช่งานเขียนที่ปกติจัดว่าเป็นวรรณกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากการสร้าง วาทกรรม” (discourse) จึงเป็นเพียง เรื่องเล่า” (narrative) เรื่องหนึ่งเท่านั้น ไม่มีอะไรเป็นความจริงแท้แน่นอน

นิทานสองเรื่องเกี่ยวกับอูฐ ตัวเลข และอื่นๆ[1] จากหนังสือ Conflict Transformation by Peaceful Means (the Transcend Method) [2] ของ Johan Galtung[3]


นิทานเรื่องที่ 1 กาลครั้งหนึ่งผู้รู้ทางศาสนาอิสลามขี่อูฐตัวหนึ่งเพื่อเดินทางไปเมกกะ เมื่อมาถึงโอเอซิสแห่งหนึ่ง ท่านเห็นชายสามคนยืนร้องไห้อยู่ที่นั่น ท่านจึงหยุดอูฐแล้วถามว่า ลูกๆ ของฉัน เกิดอะไรขึ้นหรือ?” ชายทั้งสามตอบว่า บิดาของพวกเราเพิ่งจะเสีย และเราก็รักท่านมากเหลือเกิน” “แต่ว่าท่านผู้รู้กล่าว ฉันแน่ใจว่าท่านก็รักพวกเธอเช่นกันและไม่ต้องสงสัยเลยว่าท่านได้ทิ้งบางสิ่งบางอย่างไว้ให้พวกเธอไม่ใช่หรือ?”
ชายทั้งสามคนตอบว่า ใช่แล้ว ท่านทิ้งไว้จริงๆ ท่านทิ้งอูฐไว้ฝูงหนึ่ง และในพินัยกรรมระบุไว้ว่าอูฐ 1/2 เป็นของลูกชายคนโต 1/3 เป็นของคนกลาง และ 1/9 เป็นของคนเล็ก พวกเรารักอูฐ และตกลงแบ่งกัน แต่ว่ามีปัญหาอยู่ข้อหนึ่ง คือ บิดาทิ้งอูฐไว้ 17 ตัว และเราเคยเรียนมาจากโรงเรียนว่า 17 เป็นจำนวนเฉพาะ เจ้าอูฐที่น่ารัก เราไม่อาจแบ่งพวกมันได้
ท่านผู้รู้คิดอยู่สักครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า ฉันจะยกอูฐของฉันให้ พวกเธอก็จะมีอูฐ 18 ตัวแต่พวกเขาร้องว่า ไม่ ท่านทำเช่นนั้นไม่ได้ ท่านกำลังไปปฏิบัติกิจธุระที่สำคัญท่านผู้รู้ขัดขึ้นว่า ลูกๆ จงเอาอูฐไปเถิด เอาไปเลย
ดังนั้นพวกเขาจึงเอา 2 หาร 18 ลูกชายคนโตจึงได้ไป 9 ตัว จากนั้นเอา 3 หาร 18 ลูกชายคนกลางจึงได้ไป 6 ตัว แล้วก็เอา 18 หารด้วย 9 ลูกชายคนเล็กได้ไป 2 ตัว รวมทั้งหมดได้ 9+6+2 = 17 ตัว เหลืออูฐยืนอยู่ตัวเดียวซึ่งเป็นอูฐของท่านผู้รู้ ท่านผู้รู้กล่าวว่า พวกเธอพอใจไหม ถ้างั้นฉันขออูฐคืนได้ไหม?”
ชายทั้งสามรู้สึกขอบคุณอย่างสุดซึ้ง และกล่าวตอบว่าแน่นอน โดยที่ไม่ค่อยเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ท่านผู้รู้อวยพรให้พวกเขาและขึ้นขี่อูฐ สิ่งสุดท้ายที่ชายทั้งสามเห็นก็คือละอองฝุ่นกลุ่มเล็กๆ ร่วงหล่นอย่างรวดเร็วท่ามกลางแสงสุดท้ายอันเรืองรอง
นิทานเรื่องที่ 2 กาลครั้งหนึ่งมีทนายคนหนึ่งกำลังขับรถแสนสวยผ่านทะเลทราย เมื่อผ่านโอเอซิสแห่งหนึ่งเขาเห็นผู้ชายสามคนยืนร้องไห้อยู่ ดังนั้นเขาจึงหยุดรถและถามว่า เกิดอะไรขึ้น?” ชายทั้งสามตอบว่า บิดาของพวกเราเพิ่งจะเสีย และเราก็รักท่านมากเหลือเกิน” “แต่ว่าทนายความกล่าว ผมแน่ใจว่าท่านต้องทำพินัยกรรมไว้แน่เลย บางทีผมอาจจะช่วยได้ แต่ต้องมีค่าธรรมเนียมนะ
ชายทั้งสามตอบว่า ใช่ ท่านทำไว้จริงๆ ท่านทิ้งอูฐไว้ให้ และในพินัยกรรมบอกว่า 1/2 เป็นของลูกชายคนโต 1/3 เป็นของลูกชายคนกลาง และ 1/6 เป็นของลูกชายคนเล็ก พวกเรารักอูฐและตกลงแบ่งกัน แต่ว่ามีปัญหาอยู่ข้อหนึ่ง คือ บิดาทิ้งอูฐไว้ 17 ตัว และเราเคยเรียนมาจากโรงเรียนว่า 17 เป็นจำนวนเฉพาะ เจ้าอูฐที่น่ารัก เราไม่อาจแบ่งพวกมันได้
ทนายความคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า ง่ายมากเลย พวกคุณให้อูฐผม 5 ตัว คุณก็จะเหลืออูฐ 12 ตัว หารด้วย 2, 3 และ 6 แล้วคุณก็จะได้อูฐ 6, 4 และ 2 ตัวตามลำดับชายทั้งสามทำตาม ทนายความผูกอูฐหน้าเศร้าทั้งห้าตัวกับรถของเขา และสิ่งสุดท้ายที่ชายทั้งสามเห็นก็คือฝุ่นฟุ้งก้อนใหญ่ปกคลุมแสงอาทิตย์ยามเย็น

นี่คือหนทางสองสายในการรับมือกับความขัดแย้ง ทางเลือกอยู่ในมือของท่านเอง


[1] http://clinkzfletcher.mobile.spaces.live.com/entry.aspx?h=cns!AF54AE87B37E261!1529&pie=1&fp=%2fentry.aspx
[2] เดชา ตั้งสีฟ้า (แปล) โยฮัน กันตุง (เขียน). (2550). การเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนความขัดแย้งด้วยสันติวิธี.  กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. น. 65-67.
[3] ศาสตราจารย์ด้านสันติภาพศึกษา มหาวิทยาลัยเกรเนดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น